Skip to content
ฝาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia sappan L.
ชื่อวงศ์ Legumiosae
ชื่ออื่นๆ ฝางส้ม ฝางเสน หนามโค้ง ขวาง ง้าย
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5 – 13 เมตร เป็นไม้ผลัดใบไม้พุ่มกึ่งไม้เถา แก่นและเนื้อไม้แบ่งออกเป็น ถ้าแก่นและเนื้อไม้มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่า “ฝางเสน” และถ้าแก่นมีสีเหลืองส้ม รสฝาดขื่น จะเรียกว่า “ฝางส้ม”
ใบ ลักษณะใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับกัน แกนช่อยาว 8-20 มม. ช่อใบย่อย 8-15 คู่ แต่ละช่อใบ มีใบย่อย 5-18 คู่ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยงหรือมีขนประปรายทั้งสองด้าน หูใบยาว 3-4 มม.
ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน แกนรูปใข่กลับ แบนแข็งเป็นจะงอยแหลม มีสีน้ำตาลเข้ม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-8.5 ซม.
สรรพคุณ ตำรายาไทย
เนื้อไม้
-
เป็นยาขับระดูอย่างแรง แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา แก้โลหิตตกหนัก
-
เป็นยาขับเสมหะ
-
เนื้อไม้จะเป็นส่วนผสมหลักในยาหลังคลอดบุตร ผสมกับปูนขาว นำมาบดทาหน้าผากหลังคลอดบุตรช่วยให้เย็นศีรษะ และลดอาการเจ็บปวด
แก่น
1. แก่น มีรดฝาด เค็ม ชุ่ม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม แก้เลือดอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก
-
รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับระดู แก้อาการโรคหัวใจขาดเลือด (จุกเสียดแน่น และเจ็บหน้าอก)
3. กระจายเลือดที่อุดตัน ลดอาการปวดมดลูกในสตรีหลังคลอด
4. เป็นยาสมานลำไส้ แก้บิด ฟกช้ำดำเขียว ปวดบวม ขับหนองใน ฝีอักเสบ
5. แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดเมื่อยร่างกาย แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้ปอดพิการ ขับหนอง
6. ทำให้โลหิตเย็น แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
7. แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา แก้กำเดา
8. แก่นฝางฝนกับน้ำเป็นยาทาภายในโรคผิวหนังบางชนิด เพื่อฆ่าเฃื้อโรค
9. น้ำต้มแก่นฝางให้สีแดง ใช้เป็นหลักในการทำน้ำยาอุทัย ใช้แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี
-
ราก ให้สีเหลือง ใช้ทำสีย้อมผ้าและไหม ใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่ม